Tuesday, October 7, 2014

Aerosols

         
บทความโดย ภัทราภรณ์  แซ่เตี้ยว (07/10/14)


              อนุภาคขนาดเล็กมากที่ลอยอยู่นอากาศนั้นมีอยู่หลากหลายชนิด เช่น ควันจากการผลิตพลังงานหรือโรงงานอุตสาหกรรม ฝุ่นละอองจากดินที่กระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศ ละอองลอยของเกลือทะเลในมหาสมุทรต่างๆ ฝุ่นละอองที่เกิดจากปฎิกิริยาเคมีแสง(Photochemically formed particle) และเมฆในบรรยากาศที่เกิดจากละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งรวมตัวกันเป็นกลุ่ม อนุภาคเหล่านี้จะส่งผลกระทบที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เพียงแค่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและสภาพภูมิอากาศ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตอีกด้วย แอโรซอล (Aerosols) คืออนุภาคในบรรยากาศดังที่ยกตัวอย่างมานั่นเอง เราสามารถจำกัดความ Aerosols ได้ว่า อนุภาคของแข็งหรือของเหลวที่เป็นละอองฟุ้งกระจายในอากาศ Aerosols นั้นมี 2 phase ประกอบด้วย particles หรือ ฝุ่นละออง และ ก๊าซที่มีลักษณะแขวนลอยในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยหลายปรากฎการณ์ เช่น dust, fume, smoke, mist, fog, haze, clouds and smog


Cloud หรือ เมฆ คือ aerosol ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

Dust (ฝุ่น) เกิดจากการแตกกระจายของวัตถุที่เป็นของแข็งจากการบดหรือย่อยวัสดุ อนุภาคฝุ่นจะมีขนาดตั้งแต่ submicrometer ถึง มากกว่า 100 ไมครอน

Fume เกิดจากการควบแน่นของไอร้อนและวัสดุที่เป็นของแข็ง  โดยมักจะมีขนาดน้อยกว่า 0.05 ไมครอน



Haze คือ เมฆหมอก ซึ่งเป็นลักษณะของอากาศที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าจำนวนมากล่องลอยอยู่ทั่วไป ทำห้มองเห็นอากาศเป็นฝ้าขาว ดังนั้นจะทำให้ทัศนวิสัยลดลง

Mist and Fog เกิดจากการแตกกระจายของของเหลวโดยการกระทำด้วยกลไกทางกายภาพหรือจากการควบแน่นของไอระเหย (Vapours) มีขนาดตั้งแต่ Submicrometer ถึงประมาณ 200 ไมครอน

Smog หรือ ควัน เป็นอนุภาคที่เกิดจากการรวมตัวของของแข็งและของเหลวขนาดเล็ก โดยเกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัสดุคาร์บอน โดยทั่วไปจะมีขนาดอนุภาคน้อยกว่า 1 ไมครอน

Spray คือละอองลอยที่เกิดขึ้นโดยกลไกที่ทำให้ของเหลวแตกออกเป็นละอองเล็กๆ อนุภาคจะมีขนาดใหญ่กว่าระดับ Micrometer เล็กน้อย

ref.Aerosol technology, second edition. By William C Hinds. 1999. Chicester: John Wiley.

Friday, October 3, 2014

Air Pollution



บทความโดย..ภัทราภรณ์  แซ่เตี้ยว (03/10/14)


            คือ ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมลพิษทางอากาศนี้อาจเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติเช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ฝุ่นละอองหรือก๊าซพิษจากภูเขาไฟระเบิด ฝุ่นละอองจากแผ่นดินไหว หรือเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า นอกจากนี้มลพิษทางอากาศสามารถเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ก่อให้เกิดขึ้นมา เช่น มลพิษจากท่อไอเสีย มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือก๊าซมลพิษที่เกิดจากการจัดการขยะมูลฝอยหรือของเสียต่างๆ เป็นต้น

ที่มา:http://www.momypedia.com/file_manager/mmpd/physical_health/88_2.png


          ในปัจจุบันมีการศึกษาการควบคุมมลพิษทางอากาศเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้การศึกษามลพิษทางอากาศควรจะศึกษาตั้งแต่กระบวนการเกิดมลพิษ แหล่งกำเนิด การป้องกัน วิธีการลดมลพิษ การบำบัดและกำจัดมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น 
          การศึกษามลพิษทางอากาศครบวงจร จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นการศึกษาการบำบัดมลพิษที่เกิดขึ้นมาแล้ว ยังเป็นการศึกษาลดปริมาณมลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ กล่าวคือเป็นการกำจัดมลพิษที่ต้นเหตุนั่นเอง